เสริมหน้าอก (Breast augmentation)
การเสริมหน้าอก เป็นศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมมาก เพื่อความมั่นใจในรูปร่างที่สวยชวนมอง การเสริมสามารถทำได้โดยการ เสริมซิลิโคนและการเสริมด้วยการฉีดไขมันตัวเอง หรือในคนไข้บางคนอาจต้องทำทั้ง 2 อย่าง
การผ่าตัดเสริมหน้าอก หรือการทำหน้าอก ทำนม คือการทำศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมมากในยุคนี้ สามารถสร้างความมั่นใจในรูปร่าง ช่วยให้การแต่งตัวดูสวยชวนมอง
การเสริมหน้าอก ด้วยซิลิโคน (Breast augmentation with silicone implant)
การใช้ซิลิโคนที่ดี มาตราฐานสูง ลดปัญหาซิลิโคนรั่ว นมแข็งผิดรูปในอนาคตได้
ชนิดของซิลิโคนสำหรับเสริมเต้านม
แบ่งตามรูปทรง ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ทรงหยดน้ำ (teardrop, anatomical breast implant) เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ ด้านบนไม่นูน แต่ป่องออกทางด้านล่าง ทำให้ดูคล้ายหน้าอกธรรมชาติ ซิลิโคนชนิดนี้มีแต่ผิวทรายเท่านั้น เหมาะกับคนที่ผอม และต้องการเสริมนมให้สวยแบบดูเป็นธรรมชาติ เนินอกไม่สูง ไม่เป็นก้อน สำหรับการผ่าตัดซิลิโคนชนิดนี้ ควรผ่าทางใต้ราวนมเท่านั้น เพื่อให้ตำแหน่งการวางซิลิโคนที่แม่นยำ
- ทรงกลม (round implant) มีทั้งผิวเรียบ และผิวทราย เป็นชนิดที่นิยมใช้มาก เพราะได้เนินอกที่สวย ได้ขนาดที่ใหญ่ตามต้องการ ผ่าตัดได้ง่ายกว่าการใช้ทรงหยดน้ำ และราคาถูกกว่า โดยจะมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ เช่น Mentor, Sebbin, Allergan, Eurosilicone, Motiva, Silimed, Bellagel ที่วันใหม่คลินิก เราใช้ซิลิโคนผิวเรียบเกือบทั้งหมดในการศัลยกรรมหน้าอก เนื่องจากปลอดภัยไม่เสี่ยงมะเร็งทุกชนิด
- ทรง ergonomix เป็นซิลิโคนชนิดใหม่ที่เปลี่ยนตามสรีระของร่างกาย ขณะที่นั่ง จะดูเป็นทรงหยดน้ำ ส่วนเวลานอนจะดูเป็นทรงกลม เนื่องจากเจลภายในมีคุณสมบัติต่างไปจากเจลของซิลิโคนทรงกลมอื่น ๆ เนื้อเจลค่อนข้างแน่น ไม่เหลว เหมือนซิลิโคนทรงกลมทั่วไป ปัจจุบันมีแต่ซิลิโคนของ Motiva รุ่น ergonomix ที่เป็นลักษณะนี้เท่านั้น
แบ่งตามผิวซิลิโคน ได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
- ผิวเรียบ (Smooth) ผิวค่อนข้างบาง ซิลิโคนจะนิ่มมากกว่าเนื้อนมธรรมชาติ ไม่เสี่ยงต่อมะเร็งทุกชนิด ทว่าการศัลยกรรมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวเรียบเองก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน มีความเสี่ยงที่ซิลิโคนจะไหลออกข้างได้ง่าย, โอกาสรั่ว และโอกาสเกิดผังผืด หรือนมแข็งได้มากกว่าซิลิโคนผิวอื่นค่อนข้างมาก อาจสูงถึง 20% ในกรณีใส่เหนือกล้ามเนื้อ
- ผิวทราย (Textured) เกิดผังผืดได้ต่ำ ผิวค่อนข้างหนา โอกาสรั่วน้อย แต่มีปัญหาเรื่องการเป็นริ้ว และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด ALCL รอบซิลิโคนได้ ปัจจุบันจึงนิยมศัลยกรรมหน้าอกด้วยการใช้ซิลิโคนแบบผิวทรายกันน้อยลงมาก ซิลิโคนที่มีแต่ผิวทราย ได้แก่ Sebbin, Silimed
- ผิวผสม (Nanotechnology) เป็นซิลิโคนรุ่นใหม่ ผิวค่อนข้างหนา โอกาสรั่วน้อย ลดโอกาสเกิดพังผืดได้ดี และยังไม่มีกรณีที่เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นผิวลิขสิทธิ์เฉพาะของซิลิโคน Motiva แต่เนื่องจากเป็นซิลิโคนรุ่นใหม่ จึงยังมีราคาค่อนข้างสูงมากกว่าซิลิโคนอื่น
การเลือกขนาดซิลิโคนหน้าอกที่เหมาะสม
การเลือกซิลิโคนที่ไม่เหมาะสมกับตัว มีข้อเสียหลายอย่าง เพราะนอกจากรูปทรงที่ไม่สวยแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดหัวนมชาถาวร การเกิดริ้วที่หน้าอก หรือเห็นเป็นก้อนกลมชัดเกินไปได้ ดังนั้นก่อนศัลยกรรมหน้าอก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรเปรียบเทียบกับเพื่อน เนื่องจากเนื้อหน้าอกแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ความยืดหยุ่นของเนื้อนม
ถ้าเนื้อนมแข็ง ไม่ยืด เป็นแบบนี้จะเสริมได้น้อยกว่าคนที่เนื้อยืดมาก เช่นคนที่มีลูกแล้ว เต้านมเคยขยาย แบบนี้จะเสริมหน้าอกได้ขนาดใหญ่กว่าคนที่อายุน้อยกว่า และไม่มีลูก
ฐาน หรือความกว้าง หน้าอกเดิม
ซิลิโคนไม่ควรล้นเกินเนื้อนมเดิม เพราะเวลาทำนมออกมาแล้วจะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ มองเห็นขอบซิลิโคน และเห็นเป็นริ้วง่าย นอกจากนี้ การเลือกขนาดใหญ่เกินอาจทำให้ต้องมาแก้หน้าอกในภายหลัง และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวนมชาถาวร, อกแฝด และผิวแตกลายได้
การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก (revision breast augmentation)
สาเหตุที่ควรมาแก้หน้าอก และข้อควรทราบก่อนจะผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
ตำแหน่งซิลิโคนไม่ถูกต้อง หรือรูปทรงหน้าอกไม่เหมือนกัน ถ้าต้องการแก้ไขหน้าอกที่ซิลิโคนเป็นแบบนี้ เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่งซิลิโคนก็จะสามารถทำให้เต้านมสวยขึ้นได้แล้ว แต่ในกรณีที่เนื้อนมไม่เท่ากัน หรือความคล้อยไม่เท่ากัน อาจต้องมีการแก้ไขเนื้อหน้าอกร่วมด้วย ในกรณีนี้ ต้องมีแผลผ่าตัดบริเวณอื่น เช่นรอบปานนม หรือเป็นรูปคล้ายสมอเรือเพื่อการยกหัวนม และกระชับเนื้อนมให้เท่ากัน
มีพังผืดแข็งบริเวณหน้าอก (capsular contracture) เกิดจากพังผืดรอบ ๆ ซิลิโคนหนาตัว และแข็งขึ้น สาเหตุเกิดได้หลายอย่างเช่น การผ่าตัดที่เนื้อเยื่อบอบช้ำมากเกินไป การใส่สายระบายเลือด และการผ่าตัดที่ไม่สะอาดพอ หรือบางรายอาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่สิ่งสำคัญ คือเมื่อเกิดพังผืดแข็ง การรักษาต้องทำด้วยการผ่าตัดแก้หน้าอกเท่านั้น ซึ่งการแก้ไขพังผืดบริเวณหน้าอก มักจะได้ผลไม่ค่อยดีนัก มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้สูงถึง 30-50%